หนังสือชื่อ : เมื่อโลกไม่ได้หมุนรอบอเมริกา
THE POST-AMERICAN WORLD [release 2.0]
ผู้แต่ง : Fareed Zakaria
ผู้แปล : พรเลิศ อิฐฐ์ และ วิโรจน์ ภัทรทีปกร
สำนักพิมพ์ : วีเลิร์น
ออยซื้อหน้งสือเล่มนี้ มาด้วยความขำกับชื่อเรื่องค่ะว่า อเมริกายังไม่รู้ตัวอีกเหรอจ้ะ ว่าบทบาทของตัวเองกำลังลดลงๆ อยู่ในทุกขณะ
ผู้แต่งเป็นคนอินเดียค่ะ แต่มาเรียนและทำงานที่อเมริกาจนได้สัญชาติ ดังนั้นงานเขียนจึงอยู่ตรงกลางของทั้งสองโลกค่ะ เป็นหนังสือที่วิเคราะห์โดยให้ข้อมูลแห่งความเป็นจริง และเป็นกลางดีทีเดียว
ในหนังสือบอกไว้ว่า จริงๆ แล้ว ก็ไม่เชิงว่าอเมริกาจะเสื่อมลงหรอกค่ะ หากแต่ว่า ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า บทบาทของอเมริกาลดลงในเวทีโลก ตัวอเมริกาเองก็มีปัญหาเศรษฐกิจของตัวเองที่รอวันระเบิด อเมริกาเป็นประเทศบริโภคนิยมค่ะ เป็นหนี้ตั้งแต่ระดับรัฐมาจนถึงระดับประชาชน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อยู่ดีกินดียิ่งขึ้น และเริ่มมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น บางประเทศ เช่น จีน ถึงขั้นเป็นเจ้าหนี้ของอเมริกาเสียด้วยซ้ำ
ในหนังสือ ผู้เขียนได้เริ่มต้น โดยนำเสนอหลักฐานว่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ในยุคที่สงบสุขค่ะ ไม่มีสงครามใหญ่ๆ ที่ฆ่าคนเป็นจำนวนมาก หรือมีโรคระบาดทำลายล้าง ถึงแม้เราจะรู้สึกว่า มีการตายที่เลวร้ายเกิดขึ้นทุกวัน หากแต่นั่นเป็นเพราะเทคโนโลยีการสื่อสารที่ย่อให้โลกเราเล็กลงต่างหาก ด้วยความสงบสุขนี้เอง ทำให้ความเจริญเริ่มกระจายไปทั่ว หลายประเทศซึ่งเคยยากจน ก็เริ่มลืมตาอ้าปากได้ มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น บทบาทให้เวทีโลกก็เพิ่มขึ้นด้วย
ผู้เขียนได้เล่าถึงประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ในอดีตจีนยิ่งใหญ่มากค่ะ มีกองเรือที่ล่องเรือไปทั่วโลก กองเรือจีนนำโดยเจิงเหอ เป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกา และแอฟริกา แต่ต่อมา เกิดปัญหาภายในของจีนทำให้จีนปิดประเทศมาหลายร้อยปี โดยปล่อยให้อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาครองความยิ่งใหญ่เป็นมหาอำนาจในโลกไป
ต่อมาผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึง จุดเสื่อมของอังกฤษ ในสมัยจักรวรรดิ์นิยม อังกฤษมีประเทศอาณานิคมเป็นจำนวนมาก กลายเป็นดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่ตกดิน...จุดเสื่อมของอังกฤษ เริ่มที่สงครามโบเออร์ (Boer War) สงครามเล็กๆ ในแอฟริกาใต้ ระหว่างอังกฤษ กับชาวนาอพยพชาวดัตช์ ผลของสงครามคือ อังกฤษชนะค่ะ แต่ก็เหมือนแพ้ เพราะสูญเสียทหาร และเงินไปจำนวนมาก ทำให้กองทัพอ่อนล้า ภาพลักษณ์ของประเทศก็ย้ำแย่ลง ทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และอเมริกา พากันตำหนิ ต่อต้านพฤติกรรมของอังกฤษ
ดูคล้ายประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย จุดเสื่อมของอเมริกา ผู้เขียนมองว่า คือช่วงสงครามอิรักค่ะ หลังจากเหตุการณ์ 911 รัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดีบุช พยายามที่จะหาความชอบธรรมในการบุกอิรัก ถึงขั้นสร้างหลักฐานเท็จว่าอิรักมีอาวุธร้ายแรง และเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพโลก ... การกระทำของอเมริกาครั้งนั้น ทำให้หลายประเทศตำหนิค่ะ เช่น จีน รัสเซีย เป็นต้น ผู้คนเริ่มมองว่า อเมริกาต่างหากที่เป็นภัยคุกคามของโลก!!!
ผู้เล่นหน้าใหม่ของโลกไม่ได้มีเพียงจีนค่ะ ผู้เขียนให้ความเห็นว่า ในอนาคต เราอาจไม่ได้มีประเทศมหาอำนาจประเทศเดียว หากแต่มีหลายๆ ประเทศมหาอำนาจ ส่วนแบ่งของอำนาจจะมีมากขึ้น ผู้เขียนมองว่า อินเดีย บราซิล และประเทศในแอฟริกา ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น
ผู้แต่งได้เปรียบเทียบความแตกต่างในการจัดการ การปกครองระหว่างอินเดีย กับจีน นั่นคือ จีนจะเป็นระบบสั่งการจากบนลงล่าง ดังนั้นหากสิ่งใดที่รัฐบาลจีนต้องการ สิ่งนั้นย่อมได้เสมอ เช่น จะสร้างถนน
16 เลนก็สร้างได้เลย ไม่ต้องสนใจเสียงคัดค้าน แต่การปกครองของประเทศประชาธิปไตยอย่างอินเดียเป็นแบบ ล่างขึ้นบน ดังนั้นระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ของอินเดียจึงไม่ค่อยจะดีเท่าไร เมื่อเทียบกับจีน การดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างเชื่องช้า...แต่..อินเดียมีความได้เปรียบอยู่ค่ะ ความได้เปรียบของอินเดียอยู่ที่ภาคเอกชนของอินเดีย คนอินเดียส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ ระบบราชการ ศาลของอินเดียที่อังกฤษได้วางรากเอาไว้ ก็ดีอยู่เเล้ว จึงไม่ต้องมาเริ่มใหม่แบบจีน
16 เลนก็สร้างได้เลย ไม่ต้องสนใจเสียงคัดค้าน แต่การปกครองของประเทศประชาธิปไตยอย่างอินเดียเป็นแบบ ล่างขึ้นบน ดังนั้นระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ของอินเดียจึงไม่ค่อยจะดีเท่าไร เมื่อเทียบกับจีน การดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างเชื่องช้า...แต่..อินเดียมีความได้เปรียบอยู่ค่ะ ความได้เปรียบของอินเดียอยู่ที่ภาคเอกชนของอินเดีย คนอินเดียส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ ระบบราชการ ศาลของอินเดียที่อังกฤษได้วางรากเอาไว้ ก็ดีอยู่เเล้ว จึงไม่ต้องมาเริ่มใหม่แบบจีน
การที่ประเทศเศรษฐกิจใหม่เหล่านี้ เติบโตมั่งคั่งขึ้นเรื่อยๆ ก็มีอีกด้านที่น่ากังวลค่ะ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ตามมาด้วยแนวคิดรักชาติอย่างสุดใจ เช่น สำหรับจีน ใครก็ตามอย่ามาแตะไต้หวันนะคะ อย่ามาช่วยให้ไต้หวันเป็นเอกราชเชียว จีนโกรธสุดเหวี่ยงแน่นอน
แต่ทั้งหมดนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าอเมริกาจะแย่นะคะ อเมริกายังมีข้อได้เปรียบอีกมากในการแข่งขัน เช่น การที่ประเทศสหรัฐทุ่มเทงบประมาณจำนวนมากไปกับการวิจัยและพัฒนา การเปิดกว้างรับผู้อพยพที่มีคุณภาพเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศ เป็นต้น
หนังสือเล่มนี้มีข้อมูลมากมายเชียวค่ะ อ่านสนุกด้วย เพื่อสนุบสนุนสมมุติฐานของผู้แต่งที่ว่า ขณะนี้อเมริกากำลังเผชิญกับความท้าทาย อเมริกากำลังจะไม่ใช่มหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลกอีกต่อไป แต่หากต้องแชร์อำนาจกับอีกหลายๆ ประเทศค่ะ
หนังสือเเปลเล่มนี้เป็นของสำนักพิมพ์วีเลิร์นค่ะ เพิ่งจัดพิมพ์ปีนี้ (2557) ราคา 280 บาท คิดว่าน่าจะยังมีขายตามร้านหนังสือทั่วไปนะคะ
No comments:
Post a Comment